ต้องการความช่วยเหลือ ค้นหาได้เลย

สาเหตุของการแก่ชรา
สาเหตุของการแก่ชรา

สาเหตุของการแก่ชรา

ทฤษฎีของความชรามีขึ้นมากว่า 2,000 ปีแล้ว และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ เราเข้าใจว่าความแก่ชราเกิดจากการเสื่อมของ DNA เท่านั้นแต่แท้จริงแล้วยังมีกลไกอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดความชราในร่างกายของเรา กลไกเหล่านี้เรียกว่า ‘ทฤษฎีความแก่ชรา’ การเข้าใจ ทฤษฎีความแก่ชรา อาจนำไปสู่การค้นพบวิธีชะลอหรือย้อนกลับความชราได้ ในบทความต่อจากนี้

นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มตั้งต้นจัดหมวดหมู่ของ ทฤษฎีความแก่ชรา ในระดับลักษณะเซลล์และโมเลกุล เพราะความชราภาพนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาและเคมี ของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลเชิงลบต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับสมองและความจำ

สาเหตุของความแก่ชราทั้ง 12 ประการ เป็นกรอบหรือแนวทางในการเข้าใจกระบวนการทางชีวภาพที่ซับซ้อนที่มีส่วนในการทำให้ร่างกายของเราเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เนื่องจากสาเหตุเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด และแต่ละสาเหตุก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม
 
12-Hallmarks-of-Aging.png

สาเหตุของความแก่ชรา:
1. ความไม่มีเสถียรภาพทางพันธุกรรม
เมื่อเวลาผ่านไป พิมพ์เขียวทางพันธุกรรม-DNA ของเราจะไม่สามารถคงสภาพทางกายภาพหรือเพิ่มจำนวนได้  ความไม่เสถียรของพันธุกรรมนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายของ DNA ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายประการ

ปัจจัยภายนอกและภายในก่อให้เกิดอันตรายต่อพันธุกรรม-DNA ของเราอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่สร้างความเสียหายเหล่านี้ ได้แก่ รังสียูวีจากแสงแดดหรืออนุมูลอิสระที่เกิดในไมโตคอนเดรียของเรา มีการคาดการณ์ว่า DNA ของเราได้รับความเสียหายมากถึงล้านครั้งต่อวัน แต่เนื่องจากเซลล์มีมีกลไกการตรวจจับและซ่อมแซมที่มีประสิทธิภาพ ความเสียหายส่วนใหญ่จึงได้รับการซ่อมแซมทันที

อย่างไรก็ตาม กระบวนการซ่อมแซมเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์แบบและมีความเสียหายบางส่วนที่ยังคงไม่ได้รับการซ่อมแซม เมื่อเราอายุมากขึ้น ความเสียหายของ DNA ก็จะสะสม ซึ่งอาจส่งผลเสียหลายประการ เช่นการกลายพันธุ์ เนื่องจากการกลายพันธุ์ของ DNA ช่วยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอก และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตามอายุ


2. การสั้นลงของเทโลเมียร์
เทโลเมียร์เป็นเกราะป้องกันที่พบที่ส่วนปลายของโครโมโซมของจีโนมมนุษย์ และทำงานคล้ายกับปลายเชือกผูกรองเท้าที่ปิดและรักษาโครโมโซมของเราให้คงอยู่ เทโลเมียร์จะสั้นลงในแต่ละครั้งที่มีการแบ่งเซลล์ และเมื่อถึงความยาวที่กำหนด เซลล์จะเข้าสู่ระยะพักและหยุดการแบ่งตัว เซลล์เหล่านี้สามารถตายหรือทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมีส่วนช่วยเร่งกระบวนการแก่ชราและกระตุ้นให้เกิดโรคได้

การทำให้เทโลเมียร์สั้นลงเป็นองค์ประกอบปกติของวัฏจักรของเซลล์ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน การอักเสบ และความเครียดเรื้อรัง เหล่านี้ล้วนนำไปสู่การสั้นลงของวงจรเทโลเมียร์ ซึ่งส่งผลเชิงลบต่ออายุทางชีวภาพภายในและการมีอายุยืนยาวของคุณ

เทโลเมียร์ถูกควบคุมการทำงานโดยเอนไซม์ที่เรียกว่า เทโลเมียร์เรส ซึ่งการขาดเอนไซม์นี้สัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ ก่อนวัยอันควร รวมถึงการสูญเสียศักยภาพในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่

3. การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเหนือพันธุกรรม
จีโนมของเราประกอบด้วยตัวอักษรมากกว่า 3 พันล้านตัวที่เรียกว่า คู่เบสของนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเสมือนพิมพ์เขียวในร่างกายของเรา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางพันธุกรรมของ DNA ไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ในคู่เบสเท่านั้น ยังมีการปรับแต่งทางเคมีทั้งกับตัวอักษรเหล่านั้นและกับโปรตีนฮิสโตนซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มดีเอ็นเออีกด้วย กลุ่มการปรับแต่งทางเคมีเหล่านี้รวมกันเรียกว่า "เอพิจีโนม” "แต่ยังต่างจากข้อมูลในรหัสพันธุกรรมซึ่งมีความคงตัวสูง แต่ เอพิจีโนม มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายจากการ ตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร ยา หรือความเครียด เพื่อทำให้เซลล์สามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมได้ และ เอพิจีโนมเองก็ยังเปลี่ยนแปลงไปตามวัยด้วย และการปรับแต่งใน DNA ที่สำคัญในบริบทนี้คือ "ปฏิกิริยาเมทิลเลชัน" เนื่องจากดีเอ็นเอของเรามีกลุ่มเมทิลล์ขนาดเล็กนับล้านจุด และรูปแบบการกระจายของกลุ่มเมทิลล์เหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามวัยในแต่ละเนื้อเยื่อ
 
สิ่งที่น่าประหลาด คือ ปฏิกิริยาการเกิดเมทิลเลชันของดีเอ็นเอ เพียง 350 จุด เท่านั้น สามารถทำนาย "อายุทางชีวภาพ" ของบุคคลได้ สิ่งที่เรียกว่า "นาฬิกาอิพิเจเนติก" นี้ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในฐานะ "ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ" สำหรับประเมิน หาว่าจะวิถีทางที่ดี ที่ส่งผลต่อช่วงอายุขัยที่มีสุขภาพดีของมนุษย์หรือไม่

การเปลี่ยนแปลงทางอิพิเจเนติกส์เหล่านี้ ถูกคุมการเปิด-ปิด โดยปัจจัยต่างๆ เช่น เอนไซม์ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม แม้การเปลี่ยนแปลงทางอิพิเจเนติกส์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงลำดับ DNA โดยตรง แต่ส่งผลต่อ ผลผลิตของยีน ทำให้โปรตีนที่ออกมาแตกต่างจากเดิม ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ และมีบทบาทสำคัญในความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ชราและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. การสูญเสียความสมดุลของโปรตีน
โปรตีนเป็นโมเลกุลที่สำคัญที่สุดในเซลล์ของมนุษย์ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาทางเคมีเกือบทั้งหมดในร่างกาย และมีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณและความเสถียรของเซลล์  โปรตีนจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีเพื่อให้เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเรียกกระบวนการรักษาสมดุลของโปรตีน เซลล์มีกระบวนการมากมายที่ควบคุมการผลิตโปรตีน การพับ และการย่อยสลายเพื่อรักษาระดับ โปรตีนที่ผิดปกติ โดยจะถูกย่อยสลายโดยโปรตีเอโซม หรือใช้กลไกออโตฟาจี (Autophagy) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลล์กินตัวเอง

กระบวนการแก่ชรานั้นมีลักษณะเฉพาะ คือ การสูญเสียความสมดุลของ Proteostasis (การควบคุมการผลิตและทำลายโปรตีนในเซลล์)  ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมของโปรตีนที่เสียหายและไม่ทำงาน โปรตีนที่พับผิดสามารถจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งพบได้บ่อยในความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน

5. การตอบสนองต่อสารอาหารผิดปกติ
เซลล์ของเราต้องใช้ระบบเพื่อเชื่อมโยงการเจริญเติบโตและการเผาผลาญสารอาหารที่มีอยู่ ดังนั้นเซลล์ของเราจึงมี วิถีทางหรือเส้นทางการรับรู้สารอาหาร สองแบบหลัก ๆ คือ ผ่านฮอร์โมนหรือผ่านการรับรู้โดยตรงจากส่วนย่อยของสารอาหารนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เส้นทางอินซูลินและ mTOR ทำงานร่วมกันเป็นเสมือนศูนย์กลางควบคุมสารอาหารภายในเซลล์ และยังเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของการจำกัดแคลอรี่ ที่น่าสนใจคือ การยับยั้งเส้นทางเหล่านี้ด้วยกรรมพันธุ์หรือยาก็สามารถยืดอายุขัยในสัตว์ทดลองได้ ทำให้เส้นทางเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนา ยาต่อต้านความชราในอนาคต

ร่างกายของเรามีความสามารถในการรับรู้และตอบสนองต่อสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน และกรดไขมัน เมื่อความสามารถนี้ทำงานผิดปกติ จะนำไปสู่ภาวะ "ผิดปกติของระบบเผาผลาญ" ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน และยังส่งผลกระทบต่อ epigenetic (การควบคุมเหนือพันธุกรรม) ด้วย

6. ไมโตคอนเดรียทำงานผิดปกติ
ไมโตคอนเดรีย เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กภายในเซลล์ ไม่ใช่แค่ "โรงไฟฟ้าของเซลล์" เท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางสำคัญของกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในเซลล์ด้วย พวกมันใช้พลังงานจากออกซิเจน ในกระบวนการที่เรียกว่า "การหายใจแบบไมโตคอนเดรีย"
 
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของไมโตคอนเดรียคือ พวกมันมีดีเอ็นเอของตัวเอง เรียกว่า "mtDNA" ซึ่งทำหน้าที่กำหนดรหัสโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการหายใจ สิ่งค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับไมโตคอนเดรียและกระบวนการชรา คือ การทดลองในหนูที่มีอัตราการกลายพันธุ์ของ mtDNA สูง เรียกว่า หนูกลายพันธุ์ mtDNA หนูเหล่านี้จะมีอายุขัยสั้นและแสดงอาการแก่ก่อนวัย
นอกจากนี้ ไมโตคอนเดรียยังเป็นแหล่งกำเนิดหลักของ "อนุมูลอิสระออกซิเจน" (ROS) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการหายใจแบบไมโตคอนเดรีย อนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งสามารถทำลายโมเลกุลขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ เช่น ดีเอ็นเอ ไขมัน และโปรตีน ดังนั้น จึงอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์และเร่งกระบวนการชราได้

7. เซลล์หยุดการแบ่งตัว
หนึ่งในกระบวนการความชราภาพของเซลล์คือ กระบวนการที่เซลล์หยุดแบ่งตัวและเข้าสู่สภาวะคล้ายเซลล์ซอมบี้ โดยที่พวกเขาไม่ได้มีชีวิตหรือตายไป กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับความชราและถือว่ามีบทบาทในการทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ  เซลล์ชราภาพจะผลิตสารเคมีอันตรายที่สามารถทำลายเซลล์โดยรอบ ทำให้เกิดการอักเสบ เนื้อเยื่อถูกทำลาย ดังนั้น การสะสมของเซลล์ชราภาพถือเป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการแก่ชรา

เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ชราภาพนี้จะปรากฏขึ้นทุกแห่งในเนื้อเยื่อของเรา เซลล์นี้จะถูกเรียกว่า "เซลล์ซอมบี้" เนื่องจากเซลล์เหล่านี้น่าจะตายไปแล้วแต่ยังคงเกาะอยู่ต่อไป เซลล์ชราภาพเคยเป็นเซลล์ที่แข็งแรงซึ่งสะสมความเสียหายไว้มากมาย โดยปกติแล้วควรจะทำลายตัวเองเพราะความเสียหายนี้ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น พวกเซลล์ซอมบี้ยังคงอยู่ โดยหลั่งสารที่อาจสร้างความเสียหาย เช่น ไซโตไคน์ที่ก่อการอักเสบ และโมเลกุลอื่นๆ ที่สำคัญ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่บกพร่องลงตามมา

8. ความอ่อนล้าของเซลล์ต้นกำเนิด
เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ที่มีความสามารถพิเศษในการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ในร่างกาย ทำให้มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของอวัยวะและร่างกายโดยรวม การชราภาพส่งผลกระทบต่อเซลล์ต้นกำเนิดในหลายแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อเยื่อที่มีการสร้างเซลล์ใหม่บ่อยครั้ง กระบวนการชราของเซลล์ต้นกำเนิดเองก็อาจส่งผลต่อความเสื่อมของเนื้อเยื่อด้วย ซึ่งงานวิจัยพบว่า กระบวนการชราภาพอาจทำให้จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดลดลง ส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นฟูอวัยวะที่สึกหรอ

ความน่าสนใจคือ เมื่อก่อนเรามักเชื่อว่ากระบวนการชราของเซลล์ต้นกำเนิดไม่สามารถย้อนกลับได้ แต่จากงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่าการฟื้นฟูเซลล์ต้นกำเนิดที่แก่ชรานั้นอาจเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่ฉีดพลาสมาจากเลือดจากหนูวัยหนุ่มสาวเข้าไปในหนูแก่ พบว่าฟังก์ชั่นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดในหนูแก่ดีขึ้น ดังนั้น การฟื้นฟูเซลล์ต้นกำเนิดที่แก่ชราจึงอาจเป็นแนวทางใหม่ในการชะลอวัยและส่งเสริมสุขภาพได้

9. การสื่อสารระหว่างเซลล์ผิดปกติ
เซลล์และอวัยวะของเราไม่ได้เสื่อมถอยไปทีละส่วน แต่มันยังสื่อสารกันผ่านฮอร์โมน ไซโตไคน์ และสารที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย การสื่อสารข้ามเซลล์นี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการชราภาพ

มีงานวิจัยที่ใช้เลือดสลับกันระหว่างหนูวัยเด็กกับวัยชรา ชี้ให้เห็นว่า หนูวัยชราที่ได้รับเลือดหนูวัยเด็กมีการฟื้นฟูร่างกายบางส่วนหลังทำการทดลอง ขณะที่หนูวัยเด็กที่รับเลือดจากหนูวัยชราพบสัญญาณของการชราเร็วขึ้น แสดงว่ามีปัจจัยบางอย่างในเลือดส่งผลต่อความชราของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

เมื่อร่างกายของเราแก่ตัว เส้นทางการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์จะเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ที่ผิดปกติ การเกิดโรค หรือการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกได้ไม่เหมาะสม สาเหตุหลักประการหนึ่ง คือ ระบบหรือการสื่อสารข้ามเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในวัยชรานั่นอง อาจมาจากการสะสมดีเอ็นเอที่เสียหาย นำไปสู่การสะสมของโปรตีนที่เป็นอันตรายในเซลล์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะที่เกี่ยวข้องกับวัยชราอื่นๆได้

10. การอักเสบภายใน / การอักเสบเรื้อรัง
การอักเสบเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราพยายามต่อสู้กับการติดเชื้อหรือรักษาอาการบาดเจ็บ เป็นการตอบสนองปกติที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะสูญเสียประสิทธิภาพและเริ่มก่อให้เกิดปัญหามากกว่าที่จะแก้ปัญหา การอักเสบระดับต่ำเรื้อรังนี้เรียกว่า “การอักเสบภายใน” อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของเรา และเชื่อมโยงกับโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ โดยส่งเสริมการจับกันของโปรตีนที่เนื้อเยื่อของเรา การเชื่อมโปรตีนเข้าด้วยกันเหล่านี้ ทำให้เนื้อเยื่อของเราแข็งตัว คอลลาเจนและอีลาสตินที่เกาะติดกันในผิวหนังและหลอดเลือดมีส่วนทำให้หลอดเลือดแข็งขึ้นและทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นต้น

11. ความผิดปกติในการกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
กลไกการกินตัวเองของเซลล์ เป็นระบบรีไซเคิลชนิดหนึ่งที่พบในเซลล์ของมนุษย์ เป็นวิธีการของร่างกายในการทำลายและรีไซเคิลส่วนประกอบของเซลล์ที่ไม่พึงประสงค์และไม่แข็งแรง มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ากลไกการกินตัวเองของเซลล์ มีบทบาทในกระบวนการแก่ชรา จากการวิจัยพบว่า กิจกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการกินตัวเองของเซลล์ในมนุษย์ลดลงตามอายุ นอกจากนี้การยับยั้งทางพันธุกรรมของกลไกการกินตัวเองของเซลล์ ยังช่วยเร่งการแก่ชราในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการสะสมโปรตีนและส่วนประกอบของเซลล์ที่เพิ่มขึ้น แต่ก็อาจเนื่องมาจากความสามารถในการทำลายการติดเชื้อลดลงด้วย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นกลไกการกินตัวเองของเซลล์ จะช่วยเพิ่มอายุขัยและอายุยืนยาวในสิ่งมีชีวิตแบบจำลอง

การกำจัดเซลล์ เป็นกระบวนการระดับเซลล์ที่จะทำการกำจัดและรีไซเคิลส่วนประกอบของเซลล์ที่เสียหาย เมื่อกระบวนการนี้ถูกรบกวน อาจนำไปสู่การสะสมของของเสียในเซลล์ของเรา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ รวมถึงสภาวะทางระบบประสาทและความผิดปกติของระบบการเผาผลาญ

12. ความไม่สมดุลของไมโครไบโอม / ความไม่สมดุลของลำไส้
จุลินทรีย์นับพันล้านชนิด รวมถึงแบคทีเรีย เชื้อรา กลุ่มโปรติสต์ และไวรัส ตั้งรกรากในร่างกายมนุษย์และก่อตัวเป็นไมโครไบโอม มีการประมาณกันว่าร่างกายของเรามีเซลล์ที่ไม่ใช่มนุษย์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ต่อเซลล์ของมนุษย์ทุกเซลล์
จุลินทรีย์อาศัยอยู่บนผิวหนังและของเหลวในร่างกายของเรา แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในทางเดินอาหารของเราจึงถูกเรียกว่าไมโครไบโอมในลำไส้ ไมโครไบโอมในลำไส้มีหน้าที่สำคัญสำหรับร่างกายของเรา ได้แก่ จุลินทรีย์ช่วยย่อยอาหาร การผลิตวิตามินที่จำเป็น การสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ องค์ประกอบของไมโครไบโอมในลำไส้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่นโภชนาการและความเครียด

ในขณะที่คนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีจะมีไมโครไบโอมที่ซับซ้อน ซึ่งมีแบคทีเรียหลากหลายสายพันธุ์ ความหลากหลายจะลดลงตามอายุ และไมโครไบโอมของผู้สูงอายุจะมีความซับซ้อนน้อยลงและมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายมากขึ้น สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่มีอายุเกินร้อยปีนั้นมีจุลินทรีย์ซึ่งปกติจะพบได้ในคนอายุน้อยเท่านั้น ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกเขามีไมโครไบโอมที่มีสุขภาพดี ความไม่สมดุลในกลุ่มจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ โดยชนิดดีลดลงและชนิดที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของสมอง สุขภาพภูมิคุ้มกันที่ไม่ดี และการอักเสบเรื้อรัง
 
12 สัญญาณแห่งวัยชรา ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ความไม่เสถียรของจีโนม (รวมถึงที่เกิดจากเทโลเมียร์สั้นลง) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอEpigenetics (เช่น ผ่านการกลายพันธุ์ที่ส่งผลต่อการทำงานของตัวปรับแต่ง Epigenetics อย่าง TET2) สูญเสียการรักษาสภาพพลาสโมโปรตีน (เช่น จากการสร้างโปรตีนกลายพันธุ์และพับผิดปกติ) และภาวะ Autophagy บกพร่อง (เช่น ผ่านความสามารถของ Autophagy ในการกำจัดเซนโทรโซมเกิน,โครมาตินนิวเคลียร์ส่วนเกิน และดีเอ็นเอในไซโทพลาสซึม)

ที่ไวทัลไลฟ์ คุณสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยซึ่งจะเผยให้เห็นผลกระทบของสาเหตุของความแก่ชราที่มีต่อสุขภาพ อายุทางชีวภาพ และอายุยืนยาวของคุณ คุณสามารถประเมินอัตราความเร็วของความแก่ชรา ความยาวเทโลเมียร์ สุขภาพของเซลล์ การทำงานของไมโตคอนเดรีย และปัจจัยอื่นๆ จากผลลัพธ์ของคุณ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ของเราจะออกแบบแผนการในการมีอายุยืนยาวเพื่อสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับคุณ และให้คำแนะนำเฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้น จัดการกับสาเหตุของความแก่ชรา และมีอายุยืนยาวอย่างสูงสุด

“ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์" เป็นคลินิกชั้นนำในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งให้บริการดูแลสุขภาพและความงามทุกมิติ บนพื้นฐานของเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อการมีอายุยืนยาว

📍สอบถามหรือทำนัดหมายเพิ่มเติม
Add LINE: @vitallife_wellness or Click 
📞Call: 02-066-8899



 
Facebook
Twitter
Link
Line

Our doctors can help.

My default image

Feel Younger . Look Better . Live Longer

Book an appointment

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร!